“เสียงสะท้อนจากบางพื้นที่ บอกว่าการผลิตอาหารปลอดภัยอาจไม่ใช่เรื่องยาก แต่ขอให้มีตลาดรองรับที่ชัดเจน เช่น ให้เป็นอาหารของผู้ป่วยในโรงพยาบาล เป็นอาหารกลางวันของนักเรียน ส่งเสริมตลาดในชุมชน ไปจนถึงการส่งตลาดต่างประเทศ ถ้าเราพุ่งเป้าให้เกิดนโยบายที่ชัดเจน มีหน่วยงานหลักขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ก็จะทำให้เราเดินไปสู่เป้าหมายได้” นพ.ประทีป กล่าว
ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า ไทยเป็นผู้นำด้านอาหาร มีการผลิตอาหารมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ก็ยังสามารถเกิดความไม่มั่นคงทางอาหารขึ้นได้ โดยเฉพาะในภาวะวิกฤตซ้ำหลายระลอก ตั้งแต่โควิด-19 มาจนถึงสถานการณ์เงินเฟ้อ และราคาอาหารที่ดีดตัวสูงขึ้น ทำให้คนเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพได้ยากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยพบว่าคนต้องจ่ายเงินมากขึ้นถึง 4.8 เท่า เพื่อที่จะสามารถซื้อหาอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้
“การเข้าไม่ถึงอาหารในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีคนอดอยาก ไม่มีอะไรกิน เราคงไม่ได้ถึงขั้นนั้น แต่เป็นในแง่ความมั่นคงทางอาหารตามแนวคิดของ FAO ที่แบ่งการเข้าถึงอาหารเป็น 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับแรกคือให้มีพลังงานเพียงพอ ถัดขึ้นมาคือให้มีสารอาหารเพียงพอ และปัจจุบันที่จะต้องขึ้นไปสู่ขั้นของอาหารที่ดีต่อสุขภาพ คือได้รับอาหารที่มีความหลากหลายทางโภชนาการ แต่การจะเข้าถึงอาหารได้ในแต่ละขั้น ก็ต้องใช้เงินมากขึ้นตามไปด้วย ฉะนั้นราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น ก็จะจำกัดทางเลือกในการเข้าถึงอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพ” ดร.เดชรัต กล่าว
ดร.เดชรัต กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าราคาอาหารจะขยับตัวแพงขึ้น แต่ตัวเกษตรกรเองกลับไม่ได้เงินเพิ่มตามสัดส่วนที่มากขึ้นนั้นไปด้วย เกษตรกรไทยจะต้องมีทางเลือกที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เปลี่ยนจากตลาดโภคภัณฑ์ หรือตลาดดั้งเดิมที่ได้ราคาต่อหน่วยต่ำ มาเป็นการเจาะตลาดท้องถิ่น หรือตลาดเฉพาะคุณภาพสูง ที่ได้ราคาต่อหน่วยสูงแทน
อ่านบทความและอื่น ๆ ( อาหารดีต่อสุขภาพต้องจ่ายมากขึ้น 4.8 เท่า “สมัชชาสุขภาพ” ปลุกสร้างความมั่นคงทางอาหาร - CH7 )https://ift.tt/qZk6pOK
อาหารสุขภาพ
Bagikan Berita Ini
0 Response to "อาหารดีต่อสุขภาพต้องจ่ายมากขึ้น 4.8 เท่า “สมัชชาสุขภาพ” ปลุกสร้างความมั่นคงทางอาหาร - CH7"
Post a Comment