![](https://static.thairath.co.th/media/dFQROr7oWzulq5Fa4vAprL5S3cJMBopawBOJozXCEBSYLrFNrS2iKsCd0BRVy08fg11.jpg)
คนเราจะเริ่มระวังขยะจากอาหาร บางประเทศอย่างเช่นจีน เริ่มมีกฎหมายห้ามกินเหลือหรือกินทิ้งกินขว้าง ภัตตาคารร้านอาหารใดที่ไม่ควบคุมการกินของลูกค้าอาจจะถูกปรับเป็นเงิน 1 หมื่นหยวน เทียบเป็นเงินไทยก็ประมาณ 5 หมื่นบาท ส่วนพวกที่รีวิวการกิน ถ่ายคลิปโชว์กินอาหารแบบเต็มโต๊ะ กินทิ้งกินขว้าง จะต้องโดนตำรวจไซเบอร์ตักเตือน เตือนแล้วไม่ฟังก็อาจจะโดนปรับเป็นเงินสูงถึง 1 แสนหยวน หรือประมาณ 5 แสนบาท
มนุษย์จำนวนไม่น้อยเริ่มทานอาหารจากแบรนด์ที่มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน หรือมีความรับผิดชอบต่อสังคม (ESG) ที่กำลังเริ่มฮิตก็คือ การติดตามสุขภาพและแคลอรีผ่านแอปพลิเคชันเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือของคุณภาพและที่มาของอาหารผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน
การบริโภคในอุตสาหกรรมอาหารโลกกำลังเปลี่ยนไป อาหารจะเป็นอาหารเฉพาะกลุ่มมากขึ้น บางคนสนใจอาหารที่มาจากเกษตรอินทรีย์ จากเกษตรกรรมฟื้นฟู อาหารมังสวิรัติ อาหารทางการแพทย์ อาหารสุนทรียศาสตร์ อาหารโพรไบโอติก อาหารฟังก์ชัน อาหารสังเคราะห์ อาหารที่เหมาะสมกับบุคคล ฯลฯ
Nutraceuticals หรือโภชนเภสัชซึ่งเป็นพวกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกำลังมาแรงพอๆ กับ Novel Food หรืออาหารใหม่ ซึ่งเป็นอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารที่ได้จากกระบวนการผลิตที่ได้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้โครงสร้างของอาหารเปลี่ยนแปลง มีผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต รวมถึงระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์
อาหารที่ลุงอู๋ ลุงชู ลุงผัน ผลิต อาจจะขายได้ยากขึ้นในอนาคต เพราะบางคนไม่ได้ระมัดระวังในเรื่องคุณค่าทางโภชนาการ บางทีอาจจะมีส่วนประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ประเทศที่จะอยู่รอดปลอดภัยและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับระดับสากล จะต้องมีรัฐบาลที่เอาใจใส่ต่อแนวโน้มการผลิตอาหารของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตอาหารหลังยุคโควิด-19
ประเทศที่ผู้ผลิตเข้าถึงเงินทุนยาก หรือขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังจากรัฐบาล ผู้ประกอบการด้านอาหารก็จะเสียเปรียบ เพราะเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตรวมถึงการวิจัย และการสร้างนวัตกรรมทางอาหารต่างๆ มีต้นทุนที่สูงพอสมควร
ผู้ประกอบการที่ติดตามความเคลื่อนไหวและทันแนวโน้มโลก ก็จะเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ได้
ผมมีความเชื่อว่า หลังยุคโควิด-19 จะมีเกษตรกรที่ผลิตผลผลิตทางการเกษตรออกมาอย่างไม่สนโลก จะขายสินค้าของตัวเองไม่ได้
พวกผลิตได้ แต่ขายไม่ได้ จะมีเป็นจำนวนมาก.
นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย
songlok1997@gmail.com
https://ift.tt/3yWGNVv
อาหารสุขภาพ
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เกาะกระแสอาหารโลก - ไทยรัฐ"
Post a Comment