Search

นายกฯ ทำ IF คุมอาหารดูแลสุขภาพ แล้ว IF คืออะไร ใครทำได้บ้าง? - MCOT Plc

..66 - นายกฯ เผยสูตรดูแลสุขภาพ ช่วงนี้เลือกทำ IF งดข้าวเช้า ควบคุมอาหาร ช่วยดูแลสุขภาพ แต่ไม่ได้ทำประจำ ทำเมื่อมีโอกาส ทำได้ก็ทำเพราะมีเวลาออกกำลังกายน้อย


ภายหลังการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เดินเยี่ยมชมร้านค้าภายในทำเนียบรัฐบาล และสอบถามเรื่องสินค้าราคาแพง ซึ่งระหว่างนั้นแม่ค้าได้เชิญชวนนายกรัฐมนตรี รับประทานอาหารเช้าที่ร้าน  แต่ นายเศรษฐา ได้ตอบกลับว่า งดอาหารเช้าเพื่อรักษาสุขภาพ พักลำใส้” ช่วงเช้าจะดื่มน้ำ และกาแฟที่ไม่ใส่น้ำตาล เพียงอย่างเดียว จนนักข่าวทำเนียบอดถามไม่ได้ว่า “นายกฯ กำลังเข้าสูตรลดน้ำหนัก IF อยู่รึเปล่า” ซึ่งนายกฯ ได้ตอบกลับว่า ใช้สูตร 16 /8 แต่ไม่ได้ทำประจำ ทำเมื่อมีโอกาส ทำได้ก็ทำ เพราะมีเวลาออกกำลังกายน้อย ตอนนี้ทำได้เพียงอดอาหารเช้า


จากนั้นได้เยี่ยมชมร้านกาแฟ 60 plus ซึ่งเป็นร้านที่ให้ผู้พิการมาประกอบอาชีพ โดยได้สอบถามการทำงาน พร้อมสั่งกาแฟอเมริกาโน่เย็น ไม่ใส่น้ำตาล และเค้กช็อกโกแลต พร้อมให้ทิปกับทางร้าน 1,000 บาท อีกด้วย


สำหรับการทำ IF เป็นหนึ่งในสูตรที่สายสุขภาพเลือกใช้ในการควบคุมอาหารและการกิน เพื่อสดูแลสุขภาพและน้ำหนักของแต่ละบุคคล

IF ย่อมาจากคำว่า Intermittent Fasting เป็นวิธีการควบคุมการทานอาหาร ใช้หลักการของการนับชั่วโมงในการงดอาหารและกินอาหาร เช่น

สูตร IF 16/8 : ใน 1 วัน จะงดอาหารในช่วง 16 ชั่วโมง และกินอาหารในช่วง 8 ชั่วโมง

สูตร IF 5/2 : งดอาหารสลับกับกินอาหาร ใน 1 สัปดาห์ กินอาหารปกติ 5 วัน และกินแบบ IF 2 วัน

สูตร Fast 5 : ภายใน 1 วัน กินอาหารในช่วง 5 ชั่วโมง และงดอาหาร 19 ชั่วโมง

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า จำเป็นต้องมีการดูปริมาณแคลอรีของอาหารแต่ละชนิดด้วย เพราะปริมาณแคลอรีจะมีผลต่อน้ำหนักที่ลงเร็วหรือช้าด้วยเช่นกัน แนะนำให้กินในปริมาณที่พอดี เลือกกินอาหารที่หลากหลาย และคำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม

ข้อควรระวัง IF จำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องกินยาประจำตัวเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และหญิงตั้งครรภ์ เพราะอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอก็เป็นได้

ขณะที่กรมอนามัย เคยออกข่าวเตือน "กลุ่มเสี่ยงหลีกเลี่ยงการควบคุมน้ำหนักด้วยการทำ IF ดังนี้

1. เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี ไม่เหมาะที่จะทำ IF เนื่องจากการอดอาหารนานเกินไปจะยับยั้งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับกลไกการเจริญเติบโต และการยืดยาวของกระดูก

2. หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เนื่องจากการอดอาหารระหว่างตั้งครรภ์อาจส่งผลให้แม่และเด็กในครรภ์ขาดสารอาหาร โดยเฉพาะโฟเลทและธาตุเหล็ก ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ รวมถึงหญิงให้นมบุตรที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทารกได้รับสารอาหารที่จำเป็น คือ น้ำนมแม่ ดังนั้นถ้าร่างกายคุณแม่ขาดสารอาหารที่สำคัญ เช่น วิตามินและแร่ธาตุ ลูกก็จะขาดสารอาหารไปด้วยเหมือนกัน

3. คนที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคกระเพาะอาหาร การอดอาหารนาน จะทำให้อาการแย่ลงเพราะกรดในกระเพาะเพิ่มมากขึ้น โรคเบาหวาน เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสัมพันธ์กับอาหาร หากอดอาหารนานระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมาก อาจเป็นอันตรายได้ ผู้ที่มีภาวะเครียดสะสม หรือผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมการกินอาหารผิดปกติ เช่น คลั่งผอม ล้วงคอกินไม่หยุด เป็นต้น

นอกจากนี้กลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ก็ควรเลี่ยงทำ IF เนื่องจากการอดอาหารนานเกินไปอาจส่งผลกับการมีรอบเดือนได้ 

อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาพที่ทุกคนทำได้นั้น แนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ ด้วยการ

👉เลิกกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรืออาหารที่ให้โทษต่อร่างกาย เช่น ของมัน ของทอด ของหวาน ขนมกรุบกรอบต่างๆ 

👉อาหารแต่ละมื้อให้ลดเค็ม หรือโซเดียมให้น้อยลง ลดหวานโดยเฉพาะน้ำตาล ไม่กินจนอิ่มแน่น 

👉เลือกอาหารที่มีแคลอรีต่ำ โปรตีนสูง เช่น ข้าวไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื่องจากมีไขมันน้อยและย่อยได้ง่าย

👉หันมาเลือกเมนู ต้ม นึ่ง ย่าง และเพิ่มผัก ผลไม้ เข้าไปในทุกมื้อจะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามิน แร่ธาตุ 

👉ออกกำลังกายเป็นประจำ 

👉ดื่มน้ำเปล่าสะอาด 

👉พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมง

Adblock test (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( นายกฯ ทำ IF คุมอาหารดูแลสุขภาพ แล้ว IF คืออะไร ใครทำได้บ้าง? - MCOT Plc )
https://ift.tt/dWQy6XG
อาหารสุขภาพ

Bagikan Berita Ini

0 Response to "นายกฯ ทำ IF คุมอาหารดูแลสุขภาพ แล้ว IF คืออะไร ใครทำได้บ้าง? - MCOT Plc"

Post a Comment

Powered by Blogger.