Search

1 พ.ย. "วันวีแกนโลก" ทางเลือกเพื่อสุขภาพ ช่วยลดความเสียหายต่อ ... - ไทยรัฐ

  • การทานอาหารแบบ "วีแกน" มีผลดีอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อม
  • อาหารแบบวีแกน ไม่ใช่แค่การกินพืชแล้วจบ แต่หมายถึงการใช้ชีวิตที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติมากจนเกินไป

เมื่อพูดถึง "เทรนด์รักสุขภาพ" ช่วงนี้ยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย, การควบคุมอาหารด้วยวิธีต่างๆ หรือแม้แต่การเลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพ ลดหวาน ลดไขมัน ยิ่งในยุคที่มีโรคระบาดจำนวนมาก ทำให้หลายคนหันกลับมาดูแลสุขภาพร่างกายกันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการหาข้อมูลต่างๆ ก็สะดวกรวดเร็ว ทำให้เทรนด์การรักสุขภาพไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป และยังสามารถทำได้ทันทีตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

ส่วนอีกหนึ่งเทรนด์สุขภาพที่หลายคนรู้จัก ก็คือการรับประทานแบบ วีแกน (Vegan) เป็นอีกหนึ่งระดับของการกินมังสวิรัติที่มีความเคร่งครัดกว่า คือไม่บริโภคอาหารที่มาจากผลิตภัณฑ์ของสัตว์ แม้กระทั่งน้ำผึ้งโดยจะกินแต่ธัญพืช เมล็ดพืชต่างๆ ผลไม้ ผัก และพืชตระกูลถั่วเท่านั้น รวมไปถึงการงดการเบียดเบียนสัตว์ทุกชนิดทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกายที่ทำมาจากหนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ทดลองกับสัตว์ก็ตาม

"วีแกน" เริ่มจากอังกฤษและกระจายไปทั่วโลก

สำหรับแนวคิดวีแกนมีมาตั้งแต่ปี 1847 ในประเทศอังกฤษ ก่อตั้งโดยสมาคมมังสวิรัติ (Vegetarian Society) จากนั้นอิทธิพลการกินอาหารมังสวิรัติได้แพร่หลายต่อไปยังประเทศอเมริกา ซึ่งเริ่มมาจาก "โดนัลด์ วัตสัน" (Donald Watson) ชายชาวอังกฤษผู้เข้าสู่ลัทธิมังสวิรัติตั้งแต่อายุ 14 เมื่อเติบโตขึ้นเขาจึงค่อยๆ ลด ละ เลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์ในที่สุด

กระทั่งช่วงปี 1940 เขาเลิกบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด เพราะถือว่าเป็นการเบียดเบียนสัตว์ แล้วสร้างนิยามใหม่สำหรับผู้ที่ไม่กินอาหารที่ผลิตจากสัตว์อย่างไข่และนมว่า วีแกน ทำให้ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายนของทุกปี ถูกยกให้เป็นวันวีแกนโลก หรือ World Vegan Day มากไปกว่าการเป็นมนุษย์กินพืช

ก่อนหน้านี้ ได้มีงานศึกษาเผยว่าการผลิตอาหารของโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 1 ใน 3 ของทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันนี้ เมื่อโลกกำลังเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนต่างๆ จึงต้องมีการลดการปล่อยก๊าซจากภาคการผลิตอาหารเช่นกัน หลายประเทศจึงมีความพยายามผลักดันการลดการทานเนื้อสัตว์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันอาหารจากพืช (Plant-based) โปรตีนจากพืช-แมลง การเพาะเนื้อสัตว์ในแล็บ ไปจนถึงการลดการสร้างขยะอาหาร

การทาน "วีแกน" มีผลดีอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อม

สำหรับการทานอาหารวีแกน นอกจากจะเป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพแล้ว ยังช่วยลดโลกร้อนได้ ดังนี้

  • ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำฟาร์มปศุสัตว์ เนื่องจากลดจำนวนผู้บริโภคเนื้อสัตว์ลง
  • ลดการใช้ที่ดิน การใช้ทรัพยากรจำนวนมากเพื่อมาผลิตอาหารสัตว์
  • ช่วยส่งเสริมการเกษตรให้เพิ่มมากขึ้น เน้นการปลูกพืชที่ให้คุณค่าทางสารอาหารสูง เพื่อสนับสนุนผู้บริโภค และยังใช้ทรัพยากรในการดูแลน้อยลงเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี

ดังนั้นสิ่งที่คนทานอาหารแบบวีแกนจะต้องคำนึง และให้ความสำคัญ คือต้องบริโภคอาหารในสัดส่วน และปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับปริมาณสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ เนื่องจากต้องลดการกินอาหารบางประเภทที่เป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารอย่าง โปรตีน สังกะสี และแคลเซียม

อย่างไรก็ตาม อาหารแบบวีแกนไม่ใช่แค่การกินพืชแล้วจบ แต่หมายถึงการใช้ชีวิตที่ไม่เบียดเบียนธรรมชาติมากจนเกินไป แม้แต่ดินที่ปลูกพืชเราอาจต้องลงลึกเพื่อศึกษาว่า พืชชนิดนั้นหากปลูกจะรบกวนดินและให้ผลิตผลที่ดีมากน้อยแค่ไหน ส่งต่อไปยังการผลิตอย่างไร ประหยัดน้ำหรือไม่ แล้วจะส่งผลต่อมลภาวะทางอ้อมหรือเปล่า ทั้งหมดคือแนวคิดของชาววีแกนที่มองการบริโภคและอุปโภคอย่างครบวงจร และตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมของโลกอีกด้วย.

Adblock test (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( 1 พ.ย. "วันวีแกนโลก" ทางเลือกเพื่อสุขภาพ ช่วยลดความเสียหายต่อ ... - ไทยรัฐ )
https://ift.tt/kuzAYVK
อาหารสุขภาพ

Bagikan Berita Ini

0 Response to "1 พ.ย. "วันวีแกนโลก" ทางเลือกเพื่อสุขภาพ ช่วยลดความเสียหายต่อ ... - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.