Search

ม.มหิดล-ไบโอเทค ร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร วิจัยเชื่อมโยงเกษตร-อาหาร ... - มติชน

โลกจะบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ต่อสู้กับความหิวโหย (Zero Hunger) ลดปริมาณการสูญเสีย และการเหลือทิ้งของผลผลิตทางการเกษตร และอาหารได้หรือไม่นั้น การมุ่งพัฒนาในมิติด้านอาหารเพียงด้านเดียวอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องอาศัยความแข็งแกร่งของมิติด้านการเกษตร และสุขภาพมารองรับ

รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงภารกิจสำคัญในการสร้างความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันโภชนาการ ได้ผนึกกำลังกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ใช้องค์ความรู้เพื่อการขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหาร

โดยมีตัวอย่างโครงการความร่วมมือ ได้แก่ การนำของเหลือทางการเกษตร หรือส่วนที่ไม่ใช้เป็นอาหาร เช่น ใบ เปลือก เมล็ดของผักและผลไม้ มาสกัดหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ

เป้าหมายเพื่อพัฒนาต่อให้ได้อนุภาคที่มีขนาดระดับนาโน สำหรับนำมาใช้แก้ปัญหาจุดดำในกุ้ง ซึ่งทำให้กุ้งที่เลี้ยงมีคุณภาพต่ำและเสียราคา โดยสามารถใช้ทดแทนสารซัลไฟต์ซึ่งอาจสร้างความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

สารออกฤทธิ์อนุภาคนาโนจากโครงการวิจัย สามารถนำมาใช้เพื่อยับยั้งเชื้อจุลชีพที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย (food spoilage) รวมทั้งใช้แทนยาปฏิชีวนะ เพื่อทำลายจุลชีพก่อโรค เป็นการลดปัญหาเชื้อดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลดี และเป็นประโยชน์ต่อทั้งสุขภาพสัตว์และมนุษย์

โดยทั้งสองโครงการได้รับทุนความร่วมมือระดับนานาชาติ ทั้งจาก Southeast Asia-Europe Joint Funding Scheme และ e-ASIA Joint Research Program โดยมีประเทศอื่นๆ ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ตุรกี และมาเลเซีย เป็นต้น

รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา มองว่า หนทางสู่ความเป็นเลิศด้านอุตสาหกรรมอาหารไม่อาจบรรลุได้ หากขาดการเชื่อมโยงใน 3 มิติ เกษตร-อาหาร-สุขภาพ อาหารที่ดีไม่สามารถผลิตขึ้นได้หากขาดการเกษตรที่ดีมารองรับ และสุดท้ายความยั่งยืนจะไม่อาจเกิดขึ้น หากขาดการใส่ใจ เชื่อมโยงไปสู่มิติด้านสุขภาพ และความปลอดภัย

ที่ผ่านมาเราผลิตอาหารได้ หากสามารถแก้ปัญหาด้านคุณภาพ ความปลอดภัย การเพิ่มมูลค่า และความยั่งยืนของกระบวนการผลิต ตั้งแต่การเกษตรซึ่งเป็นต้นน้ำ จนถึงผู้บริโภคที่เป็นปลายน้ำได้อย่างครบวงจร จะทำให้ประเทศไทยฟันฝ่าอุปสรรคที่ท้าทายต่อไปได้

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

โลกจะบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ต่อสู้กับความหิวโหย (Zero Hunger) ลดปริมาณการสูญเสีย และการเหลือทิ้งของผลผลิตทางการเกษตร และอาหารได้หรือไม่นั้น การมุ่งพัฒนาในมิติด้านอาหารเพียงด้านเดียวอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องอาศัยความแข็งแกร่งของมิติด้านการเกษตร และสุขภาพมารองรับ

รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงภารกิจสำคัญในการสร้างความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันโภชนาการ ได้ผนึกกำลังกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ใช้องค์ความรู้เพื่อการขับเคลื่อนประเทศสู่การเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมอาหาร

โดยมีตัวอย่างโครงการความร่วมมือ ได้แก่ การนำของเหลือทางการเกษตร หรือส่วนที่ไม่ใช้เป็นอาหาร เช่น ใบ เปลือก เมล็ดของผักและผลไม้ มาสกัดหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ

เป้าหมายเพื่อพัฒนาต่อให้ได้อนุภาคที่มีขนาดระดับนาโน สำหรับนำมาใช้แก้ปัญหาจุดดำในกุ้ง ซึ่งทำให้กุ้งที่เลี้ยงมีคุณภาพต่ำและเสียราคา โดยสามารถใช้ทดแทนสารซัลไฟต์ซึ่งอาจสร้างความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

สารออกฤทธิ์อนุภาคนาโนจากโครงการวิจัย สามารถนำมาใช้เพื่อยับยั้งเชื้อจุลชีพที่ทำให้อาหารเสื่อมเสีย (food spoilage) รวมทั้งใช้แทนยาปฏิชีวนะ เพื่อทำลายจุลชีพก่อโรค เป็นการลดปัญหาเชื้อดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ ส่งผลดี และเป็นประโยชน์ต่อทั้งสุขภาพสัตว์และมนุษย์

โดยทั้งสองโครงการได้รับทุนความร่วมมือระดับนานาชาติ ทั้งจาก Southeast Asia-Europe Joint Funding Scheme และ e-ASIA Joint Research Program โดยมีประเทศอื่นๆ ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ตุรกี และมาเลเซีย เป็นต้น

รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา มองว่า หนทางสู่ความเป็นเลิศด้านอุตสาหกรรมอาหารไม่อาจบรรลุได้ หากขาดการเชื่อมโยงใน 3 มิติ เกษตร-อาหาร-สุขภาพ อาหารที่ดีไม่สามารถผลิตขึ้นได้หากขาดการเกษตรที่ดีมารองรับ และสุดท้ายความยั่งยืนจะไม่อาจเกิดขึ้น หากขาดการใส่ใจ เชื่อมโยงไปสู่มิติด้านสุขภาพ และความปลอดภัย

ที่ผ่านมาเราผลิตอาหารได้ หากสามารถแก้ปัญหาด้านคุณภาพ ความปลอดภัย การเพิ่มมูลค่า และความยั่งยืนของกระบวนการผลิต ตั้งแต่การเกษตรซึ่งเป็นต้นน้ำ จนถึงผู้บริโภคที่เป็นปลายน้ำได้อย่างครบวงจร จะทำให้ประเทศไทยฟันฝ่าอุปสรรคที่ท้าทายต่อไปได้

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

Adblock test (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( ม.มหิดล-ไบโอเทค ร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร วิจัยเชื่อมโยงเกษตร-อาหาร ... - มติชน )
https://ift.tt/tPkF39R
อาหารสุขภาพ

Bagikan Berita Ini

0 Response to "ม.มหิดล-ไบโอเทค ร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร วิจัยเชื่อมโยงเกษตร-อาหาร ... - มติชน"

Post a Comment

Powered by Blogger.