รพ.อภัยภูเบศร ชู "อาหารพรีไบโอติกส์" เพื่อลำไส้แข็งแรง ชูผักผลไม้ 9 ชนิดคุณค่าสูง ทำตำรับอาหารสูตรง่ายๆ ทำเองได้กินมีประโยชน์ ขณะเดียวกันผลักดันให้เป็น Soft Power เหมือนเกาหลีใช้กิมจิ แต่ไทยมีอาหารหลากหลาย จัดทำเป็นเซตเมนูกระตุ้นศก.ได้อีกทาง
เวียนมาบรรจบอีกปี สำหรับงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติและการประชุมวิชาการประจำปี การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก ครั้งที่ 19 ภายใต้แนวคิด “สร้างเศรษฐกิจไทย ด้วยกัญชาไทย นวดไทย อาหารไทย” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6-10 ก.ค.2565 ที่ฮอลล์ 11 - 12 อิมแพค เมืองทองธานี
งานนี้มีไฮไลท์ที่น่าสนใจมากมายไม่ว่าจะเป็นการแจกต้นกล้ากัญชาวัน 100 ต้น รวมมั้งรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศวร ยังนำเอาสมุนไพรพื้นบ้านหายาก มาแจกภายในงานอีกด้วย 5 ชนิด โดยแจกวันละ 1 ชนิด จำนวน 300 ต้นต่อวัน แบ่งออกเป็นรอบๆ ตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น. โดยแจกวันแรก (6 ก.ค.) แจกต้นมะกล่ำเผือก วันที่สอง(7 ก.ค.) แจกต้นสายน้ำผึ้ง วันที่สาม(8 ก.ค.) แจกมะขามป้อม วันที่สี่(9 ก.ค.) แจกว่านคันทมาลา และวันที่ห้า (10 ก.ค.) แจกเท้ายายม่อม และในงนยังแจกหนังสือครบครันกัญชาสยาม สานต่ออดีตสู่..อนาคต อีกวันละ 200 เล่ม
นอกจากสมุนไพร 5 ชนิด และต้นกัญชาที่นำมาแจกให้ในงานแล้ว ทางรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ยังมาให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารเพื่อลำไส้แข็งแรง...
ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ให้ข้อมูลว่า อาหารเป็นยา จัดเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องมีการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้การสนับสนุนเรื่องนี้ เนื่องจากปัจจุบันคนเจ็บป่วยง่าย จึงจำเป็นต้องส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง แต่จะสนับสนุนการรับประทานยาคงไม่ได้ สิ่งที่เป็นประโยชน์คือ พืชผักสมุนไพร ซึ่งหากนำมาทำเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือเรียกว่า อาหารเป็นยา จะเป็นทางเลือกที่คนเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งโปรไบโอติก จะเป็นเทรนด์ของโลก เพราะตัวเชื้อในอาหารจะช่วยเรื่องระบบขับถ่าย และยังมีงานวิจัยช่วยเรื่องโรคหลอดเลือดหัวใจ ขณะที่ญี่ปุ่นก็มีการศึกษาวิจัยอาหารเพื่อช่วยโรคซึมเศร้าอยู่ขณะนี้
" ในต่างประเทศให้ความสนใจเรื่องนี้มาก อย่างเกาหลี มีกิมจิ ซึ่งเป็นอาหารที่มีการศึกษาว่า มีประโยชน์ต่อสุขภาพมาก มีศูนย์วิจัยเฉพาะเรื่องนี้ ดังนั้น หากประเทศไทยหันมาทำเรื่องนี้ก็จะช่วยให้อาหารไทยมีคุณค่ามากขึ้น จึงนำมาสู่การศึกษาวิจัยอาหารที่จะเข้าไปทำให้ให้เชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้เจริญเติบโตดี หรือที่เรียกว่า “พรีไบโอติกส์” ซึ่งในผักดองของไทยมีตัวนี้ แต่ไม่มาก" ภญ.ผกากรอง กล่าว
ด้วยเหตุนี้ ที่ผ่านมาจึงมีการเก็บตัวอย่างพืชผัก 52 ตัวอย่าง ที่วางขายในตลาดมาสกัดแล้วตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่า มี 9 ชนิดที่มีช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ดีมาก ได้แก่ เม็ดบัว กลอย ขมิ้นขาว ขิงอ่อน ขิงแก่และขิงอ่อน หอมแดง ลูกยอ กระเจี๊ยบเขียว ข่า และตะไคร้ รองลงมา คือ มันมือเสือ มันแกว กระจับ ผักปลัง กระเจี๊ยบแดง บวบ หัวปลี มะละกอ ราก/ไหลบัว หัวไชเท้า ฟักทองและหอมหัวใหญ่
โดยการศึกษาได้นำมาทดสอบการเจริญเติบโตของเชื้อและนำมาสู่การพัฒนาเป็นเมนูอาหารรวม 100 ตำรับ โดยได้เลือกพืชผักที่มีคุณสมบัติความเป็นพรีไบโอติกส์ที่ดีมากมาปรุงอาหาร จากนั้นนำกลับไปทดสอบอีกครั้ง โดยผลการทดสอบอาหารที่มีคุณสมบัติพรีไบโอติกส์ดีมาก คือ กระจับผัดพริกเผา ข้าวคลุกกะปิ ขนมผักกาด
รองลงมา คือ ยำตะไคร้กุ้งสด ไก่หุงฟักทอง ปลาแนม กระเจี๊ยบเขียวชุบแป้งทอด ตะโก้แห้ว ส้มตำไทย รากบัวผัดน้ำปลา ขนมจีนแกงป่า หัวไชเท้าทอด และหลนเต้าเจี้ยว
เมื่อถามว่า จะดันอาหารพรีไบโอติกของไทย เป็น Soft Power เหมือนตอนข้าวเหนียวมะม่วงหรือไม่ ภญ.ผกากรอง กล่าวว่า ใช่ เพราะจริงๆพืชผักบ้านเรามีประโยชน์มาก ประชาชนหากปลูกผักกินเองที่บ้านก็จะสามารถมาช่วยส่งเสริมสุขภาพได้ เช่น กระเทียม มีการศึกษาว่า หากกินแค่ครึ่งกลีบทุกวัน จะลดฤทธิ์การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ รวมถึงการกินพริก ขมิ้นชันก็มีประโยชน์ ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องมีการสื่อสารข้อมูลให้ประชาชนทราบเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และในอนาคตเราอาจทำอาหาร ที่เป็นเหมือนกิมจิ ทำเป็น Soft Power ให้ประเทศก็เป็นได้
"อาหารไทยเรามีความหลากหลายมาก เราสามารถทำเป็นเซต อย่างแต่ละประเทศก็จะชอบอาหารแตกต่างกัน หากทำเป็นเซตเมนู และทำอาหารเป็นอาหารพรีไบโอติกก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่งได้เช่นกัน" ภญ.ผกากรอง กล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับประโยชน์ของพรีไบโอติกส์ในทางเดินอาหารนั้น ประกอบด้วย 1.ช่วยบ่อยอาหาร จุลินทรีย์ในทางเดินอาหารจะช่วยย่อยสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ หรือย่อยได้ไม่หมด 2.ผลิตวิตามิน เช่น วิตามินบี1 บี2 บี3 วิตามินอี วิตามินเค กรดแพนโทเทนิก และกรดโฟลิก เป็นต้น หากขาดแบคทีเรียเหล่านี้อาจทำให้เราขาดวิตามินได้ 3. กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ส่งผลให้การขับถ่ายอุจจาระดีขึ้น ไม่มีอุจจาระตกค้าง ย้อนกลับมาเป็นพิษกับร่างกาย 4.ยับยั้งเชื้อก่อโรค โดยการผลิตกรดแล็กติกเพื่อป้องกันการสัมผัสระหว่างเชื้อก่อดรคกับผนังลำไส้ รวมถึงแบคทีเรียอื่นที่เข้าสู่ร่างกาย ตามช่องทางต่างๆ เช่น มากับอาหาร และ 5. เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานตรวจจับเชื้อก่อโรคได้ดีขึ้น และหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ลดลง
ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อภัยภูเบศร เดย์ สปา กลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี โทร 037-217127
สามารถสแกนคิวอาร์โคดตำรับอาหารได้ที่
ข่าวเกี่ยวข้อง : "พ่อหมอเอียะ" คว้ารางวัลหมอไทยดีเด่น รักษางูพิษกัด - ไฮไลท์มหกรรมสมุนไพรแจก "กัญชา-ต้นไม้ 5 ชนิด"
*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org
อ่านบทความและอื่น ๆ ( อภัยภูเบศรชูเมนูอาหารพืชผัก 9 ชนิด "พรีไบโอติกส์" สูง หวังขับเคลื่อนเป็น Soft Power - Hfocus )https://ift.tt/NcmDf2M
อาหารสุขภาพ
Bagikan Berita Ini
0 Response to "อภัยภูเบศรชูเมนูอาหารพืชผัก 9 ชนิด "พรีไบโอติกส์" สูง หวังขับเคลื่อนเป็น Soft Power - Hfocus"
Post a Comment