สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับบริษัท ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จํากัด เดินหน้าตอกย้ำภาพลักษณ์กรุงเทพมหานครสู่ฟู้ดเทคซิลิคอนวัลเลย์ จัดงาน “SPACE-F batch 3 Accelerator Demo Day”
นำเสนอผลงานสตาร์ทอัพที่ผ่านการเร่งการเติบโตในรุ่นที่ 3 ภายใต้โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตทางธุรกิจเทคโนโลยีอาหารระดับโลกแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SPACE-F ซึ่งมุ่งสนับสนุนนวัตกรรมอาหารใน 9 เทรนด์หลัก อาทิ การผลิตโปรตีนทางเลือก การพัฒนาบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต การคิดค้นส่วนผสมและสูตรอาหารใหม
นอกจากนี้ ยังเผยธุรกิจดีพเทคด้านอาหารและเกษตรยังเติบโตต่อเนื่อง สวนกระแสธุรกิจแพลตฟอร์ม - ด้านดิจิทัลที่มีการหดตัวสูงถึงร้อยละ 60 และจากการที่ประเทศไทยมีบริษัทและกลุ่มธุรกิจด้านอาหารที่ที่เข้มแข็ง ทำให้ตลาดระดับโลกที่สนใจเข้ามาลงทุนในกลุ่มฟู้ดเทคสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง รวมถึงช่วยลดปัญหาต้นทุนด้านอาหารที่ยังคงมีความผันผวน
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า NIA ยังคงเดินหน้าผลักดันสตาร์ทอัพด้านอาหาร โดยได้ดำเนินโครงการ SPACE-F ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 แล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับจุดเด่นของประเทศไทยในฐานะการเป็น “ครัวโลก” ซึ่งเป็นการนำนวัตกรรมมาช่วยยกระดับให้อุตสาหกรรมอาหารเติบโต และช่วยผลักดันสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมอาหารให้มีคุณภาพ และมีความหลากหลาย
โดยจะเน้นการพัฒนานวัตกรรมอาหารโลกใน 9 เทรนด์หลัก ได้แก่ การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ การผลิตโปรตีนทางเลือก กระบวนการผลิตอาหารอัจฉริยะ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์แห่งอนาคต การคิดค้นส่วนผสมและสูตรอาหารใหม่ การพัฒนาวัสดุชีวภาพและสารเคมี เทคโนโลยีการบริหารจัดการร้านอาหาร การตรวจสอบควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร และบริการอัจฉริยะด้านอาหาร
ทั้งนี้ ภายใต้โครงการดังกล่าว NIA จะมีบทบาทเป็น “Focal Facilitator” หรือผู้เชื่อมโยงเครือข่ายในการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ โดยโครงการนี้ถือเป็นการร่วมมือกันของพันธมิตรทั้งจาก 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ทำให้โครงการนี้มีจุดแข็งสามารถดึงดูดสตาร์ทอัพต่างชาติมาร่วมโครงการได้
อย่างไรก็ตาม SPACE-F จะไม่ได้เน้นเพียงสตาร์ทอัพประเภทแพลตฟอร์ม เช่น ฟู้ดเดลิเวอรี่ แต่ยังเน้นด้านเทคโนโลยีเชิงลึกหรือ DeepTech เป็นสำคัญ เพื่อมุ่งต่อยอดงานวิจัยให้ใช้ประโยชน์ได้จริง และเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันให้แก่ประเทศ
สำหรับปีนี้มีสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการ 16 ราย แบ่งเป็นโปรแกรมเร่งการเติบโต หรือ Accelerator 8 ราย ได้แก่ EnerGaia –โปรตีนทางเลือกเพื่อสุขภาพจากสไปรูลิน่า POTENT - สารสกัดจากเห็ดป่าสำหรับปรุงเครื่องดื่ม WeavAir – การเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีเซนเซอร์และ IoT เพื่อควบคุมการเน่าเสียของอาหาร Nabsolute – ไบโอโพลีเมอร์ดัดแปลงในระดับนาโน
Jamulogy – เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพสไตล์อินโดนีเซีย More Meat – โปรตีนจากพืชทำจากเห็ดแครงและโปรตีนถั่วเหลือง eniferBio – โปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้นจากผลพลอยได้ในกระบวนการผลิต Mi Terro – บรรจุภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรย่อยสลายได้
ขณะที่โปรแกรมบ่มเพาะ หรือ Incubator 8 ราย และ 2 ปีที่ผ่านมามีสตาร์ทอัพจบจากโครงการแล้ว 33 ราย มีสตาร์ทอัพที่ได้รับทุนจาก NIA ได้รับการลงทุนจากไทยยูเนี่ยน และที่อื่น ๆ รวมถึงได้รับโอกาสในการต่อยอดการทำธุรกิจอีกมากมาย นั่นแปลว่าเราได้เพิ่มโอกาสและศักยภาพให้สตาร์ทอัพในระบบนิเวศเพิ่มขึ้นถึง 49 ราย
“หากมองดูภาพรวมด้านการลงทุนของสตาร์ทอัพทั่วโลก จะพบว่าธุรกิจที่เป็นดีพเทคด้านอาหารและเกษตรยังเติบโตต่อเนื่อง สวนกระแสธุรกิจแพลตฟอร์ม - ด้านดิจิทัลที่มีการหดตัวสูงถึงร้อยละ 60 ซึ่งประเทศไทยมีบริษัทและกลุ่มธุรกิจด้านอาหารที่มีห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็ง นอกจากนี้ ยังมีตลาดระดับโลกที่สนใจเข้ามาลงทุนในกลุ่มฟู้ดเทคสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น การมีสมาร์ทวีซ่าจะช่วยดึงบริษัทด้านอาหารมาเป็นนักลงทุนและทำให้การเชื่อมโยงการลงทุนในระดับนานาชาติคึกคักมากขึ้น และเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้บริษัทขนาดใหญ่อยากจะลงทุนด้านอาหารในประเทศ"
"สอดคล้องกับเป้าหมายของ SPACE-F ที่ต้องการทำให้กรุงเทพเป็นฟู้ดเทคซิลิคอนวัลเลย์ (FoodTech Silicon Valley)
ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาราคาน้ำมันพลังงานโลก และภาวะสงครามรัสเซีย – ยูเครน ทำให้ห่วงโซ่อุปทานด้านอาหารของทั่วโลกได้รับผลกระทบหนัก ขณะที่ประเทศไทยวัตถุดิบด้านการเกษตร อาหารที่มีความจำเป็นต่อการบริโภคต่างก็ปรับราคาสูงขึ้น
ปัจจัยดังกล่าวส่งเสริมให้ฟู้ดเทคสตาร์ทอัพที่ทำเรื่องของแพลนต์เบสต์มีท หรือวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต โดยเฉพาะการทำฟาร์มในเมืองมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นในปี 2022 – 2023 เพราะสามารถตอบโจทย์เรื่องวิถีชีวิตภายในเมืองหรือสภาวะทางเศรษฐกิจที่ผันผวนได้
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญปัญหาด้านต้นทุนอาหารและการขนส่งราคาสูง ผลผลิตออกไม่เพียงพอต่อความต้องการ รวมถึงการทำต้องอาศัยโลจิสติกส์และพลังงานที่หลากหลาย
ดังนั้น หากสตาร์ทอัพในเมืองสามารถปลูกหรือผลิตอาหารในเมือง หรือพัฒนาโปรตีนที่มาจากโปรตีนทางเลือกได้ โอกาสการขยายตลาดจะมีมากขึ้นเพราะสามารถตอบคำถามด้านการเปลี่ยนแปลงของเมือง รวมถึงการลดโอกาสด้านขาดแคลนวัตถุดิบ.
https://ift.tt/jPZK3Yo
อาหารสุขภาพ
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เอ็นไอเอ เดินหน้าปั้นฟู้ดเทคสตาร์ทอัพ ผ่านโปรเจกต์สเปซ-เอฟ ปี3 - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment