Search

ผลวิจัยเผย 'ดื่มน้ำน้อย' อันตรายกว่าที่คิด สุขภาพพัง เสี่ยงเกิดหัวใจล้มเหลว-โรคไต - ข่าวสด

ผลวิจัยเผย ‘ดื่มน้ำน้อย’ อันตรายกว่าที่คิด สุขภาพพัง เสี่ยงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว-โรคไต พร้อมแนะต้องดื่มกี่ลิตรต่อวัน

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

น้ำมีความสำคัญต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสำหรับดื่ม, ใช้ในบ้าน, การผลิตอาหาร หรือเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งควรเป็นน้ำที่มีความสะอาด หากน้ำมีสารปนเปื้อนและสุขาภิบาลที่ไม่ดีอาจเชื่อมโยงกับการแพร่กระจายของโรคต่าง ๆ เช่น อหิวาตกโรค, โรคท้องร่วง, โรคบิด, โรคตับอักเสบเอ, ไข้ไทฟอยด์ และโปลิโอ

การดื่มน้ำปริมาณมากทุกวันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีสุขภาพที่ดี เพราะร่างกายต้องอาศัยน้ำเพื่อเสริมประทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้ย่อยอาหาร, ดูดซับสารอาหาร, การเคลื่อนไหวร่างกาย, กำจัดของเสีย, ช่วยให้เลือดสูบฉีดหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือควบคุมอุณหภูมิร่างกาย แถมน้ำยังเป็นส่วนประกอบหลักในร่างกายมนุษย์ 50 – 80%

โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ออกมาเรียกร้องให้ประชาชนดื่มน้ำมันละ 6 – 8 แก้วเสมอ เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะขาดน้ำ หากร่างกายมีน้ำไม่เพียงพอ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนิ่วในไต, ปัญหาเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ, ภาวะหัวใจล้มเหลว และมะเร็งบางชนิด ซึ่งการขาดน้ำเพียงเล็กน้อยก็อาจส่งผลต่อสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ

ดร.นาตาเลีย ดมิทรีวา นักวิจัยจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐฯ นำทีมที่ศึกษาผู้ใหญ่ชาวอเมริกันเกือบ 12,000 คน เผยผลวิจัยครั้งใหม่ว่า “คล้ายกับการลดการบริโภคเกลือ การดื่มน้ำให้เพียงพอและการดื่มน้ำให้เพียงพอเป็นวิธีที่จะช่วยดูแลหัวใจและอาจช่วยลดความเสี่ยงในระยะยาวต่อโรคหัวใจได้”

“ยกตัวอย่างเคสผู้เข้ารับการวิจัยอายุระหว่าง 45 – 66 ปีและมีประวัติสุขภาพดียาวนานถึง 25 ปี โดยไม่เป็นภาวะหัวใจล้มเหลว เบาหวาน หรือโรคอ้วนในช่วงเริ่มต้นของการศึกษา ในเวลาต่อมาประมาณ 1,366 (11.56%) เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งพบได้บ่อยตามอายุ”

“ทีมวิจัยประเมินระดับโซเดียมในเลือด ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่อระดับของเหลวในบางคนต่ำ ช่วงโซเดียมในซีรัมปกติอยู่ระหว่าง 135 – 146 มิลลิอิควิวาเลนต์ต่อลิตร (mEq/L) แต่ผู้ที่มีระดับ 143 mEq/L ในช่วงวัยกลางคนมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวเพิ่มขึ้น 39% เมื่อเทียบกับผู้ที่มีระดับต่ำกว่า นอกจากนี้ ข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปีที่มีระดับโซเดียม 143 mEq/L มีโอกาสเกิดการขยายตัวของหัวใจห้องล่างซ้ายเพิ่มขึ้น 62%


การค้นพบในช่วงแรกบ่งชี้ว่าการดื่มน้ำที่ดีอาจช่วยป้องกันหรือชะลอการลุกลามของการเปลี่ยนแปลงภายในหัวใจที่อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ โดยนักวิจัยแนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 6 – 8 แก้ว (1.5 – 2.1 ลิตร) สำหรับผู้หญิง และ 8 – 12 แก้ว (2 – 3 ลิตร) สำหรับผู้ชาย

พร้อมทั้งแนะนำให้ออกกำลังกายเป็นประจำ, ไม่สูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในระดับปานกลาง รวมถึงรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยจำกัดการรับประทานปริมาณอาหารที่มีรสชาติเค็ม น้ำตาลสูง และไขมันเยอะ

ขอบคุณที่มาจาก The Sun Healthdirect

Adblock test (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( ผลวิจัยเผย 'ดื่มน้ำน้อย' อันตรายกว่าที่คิด สุขภาพพัง เสี่ยงเกิดหัวใจล้มเหลว-โรคไต - ข่าวสด )
https://ift.tt/w9gkDfU
อาหารสุขภาพ

Bagikan Berita Ini

0 Response to "ผลวิจัยเผย 'ดื่มน้ำน้อย' อันตรายกว่าที่คิด สุขภาพพัง เสี่ยงเกิดหัวใจล้มเหลว-โรคไต - ข่าวสด"

Post a Comment

Powered by Blogger.