Search

วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : อาหารปลอดภัย...สุขภาพแข็งแรง (1) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

วันอาทิตย์ ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 06.00 น.

ในยุคโควิด-19 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนไทยในหลายๆ ด้าน “การรับประทานอาหาร” เป็นพฤติกรรมอันดับ 2 ของคนไทยที่มีการเปลี่ยนแปลง โดย
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณี “พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนไทยในยุคโควิด-19” จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,218 คนระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม-2 กันยายน 2564 พบว่า พฤติกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงของคนไทย คือ การทำอาหารรับประทานเองในครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 60.41

การทำอาหารรับประทานเองนั้น มีข้อดีคือเราสามารถเลือกวัตถุดิบที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพมาประกอบอาหารเองได้ตามความต้องการ ซึ่ง “ผัก” เป็นอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นแหล่งของใยอาหารที่ช่วยกำจัดของเสียในลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ ผู้ที่รักสุขภาพนิยมนำมาประกอบอาหาร แต่ทราบหรือไม่ว่า ผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายนั้น สามารถนำโทษมาสู่ร่างกายอย่างร้ายแรงได้เช่นกัน หากรับประทานผักที่ล้างไม่สะอาด เสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเสี่ยงต่อโรคพยาธิต่างๆ


เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เผยผลการตรวจสอบผักและผลไม้ประจำปี 2563 โดยสุ่มตรวจผักผลไม้ทั้งหมด 509 ตัวอย่างจากทั่วประเทศ ประกอบด้วย ผลไม้จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ ส้มโอ ส้มแมนดารินนำเข้า ลองกอง น้อยหน่า แก้วมังกร ฝรั่ง ส้มสายน้ำผึ้ง พุทราจีน และองุ่นแดงนอก ผักจำนวน 18 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพดหวานมันฝรั่ง หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว แครอท ถั่วฝักยาวบร็อกโคลี่ หัวไชเท้า ผักบุ้ง มะระ กะเพรา กวางตุ้ง ผักชี มะเขือเทศผลเล็ก คะน้า ขึ้นฉ่าย พริกแดง และพริกขี้หนู ของแห้งจำนวน 2 ชนิด ได้แก่ พริกแห้ง และเห็ดหอม โดยส่งตัวอย่างทั้งหมดไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการในประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งสามารถตรวจวัดผลได้ครอบคลุมสารเคมีกำจัดแมลงและเชื้อรา (ไม่รวมสารเคมีกำจัดวัชพืช) กว่า 500 ชนิดและได้รับรองมาตรฐานระหว่างประเทศ (ISO 17025)

ผลการตรวจวิเคราะห์พบว่า มีผักและผลไม้มากถึง 58.7% ที่พบสารพิษตกค้างเกินมาตรฐาน ทั้งนี้ โดยผักที่พบการตกค้างเกินมาตรฐานมากที่สุดคือ มะเขือเทศผลเล็กพริกขี้หนู พริกแดง ขึ้นฉ่าย คะน้า พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานทั้งหมดทุกตัวอย่าง (100%) จากที่เก็บมาชนิดละ 16 ตัวอย่าง ผักผลไม้ที่พบการตกค้างรองลงมาได้แก่ กะเพรา (81%) มะระ (62%) ผักบุ้ง (62%) หัวไชเท้า (56%) บร็อกโคล่ี (50%) ถั่วฝักยาว (44%) แครอท (19%) กระเจี๊ยบเขียว (6%) และหน่อไม้ฝรั่ง (6%) ส่วนมันฝรั่งพบการตกค้างในระดับไม่เกินมาตรฐาน และข้าวโพดหวานไม่พบการตกค้าง องุ่นนำเข้า พุทราจีน พริก ขึ้นฉ่าย คะน้า มะเขือเทศเล็ก พบการตกค้าง 100%

ในส่วนของผลไม้ที่พบสารพิษตกค้างมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ องุ่นแดงนอก (100%) พุทราจีน(100%) ส้มสายน้ำผึ้ง (81%) ฝรั่ง (60%) แก้วมังกร (56%) น้อยหน่า (43%) ที่พบการตกค้างน้อย ได้แก่ ลองกอง (14%) ส้มแมนดารินนำเข้า (13%) และส้มโอ ไม่พบการตกค้างเกินมาตรฐาน สำหรับของแห้ง ได้แก่ เห็ดหอมแห้ง และพริกแห้ง พบการตกค้างในระดับไม่ปลอดภัยมากถึง 94% และ 88% ตามลำดับ

กองประชาสัมพันธ์

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

Adblock test (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : อาหารปลอดภัย...สุขภาพแข็งแรง (1) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า )
https://ift.tt/3qavxDf
อาหารสุขภาพ

Bagikan Berita Ini

0 Response to "วิทยาศาสตร์ สำหรับเยาวชน : อาหารปลอดภัย...สุขภาพแข็งแรง (1) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.