Search

อย่าหาทำ "กัญชง-กัญชา" ให้ปลดล็อกทำอาหาร แต่ใช่ว่า ใครๆ ก็ปลูกได้ - ไทยรัฐ

ข่าวแนะนำ

เรียกว่ากระแสแรงไม่ตก สำหรับอาหารที่มีส่วนประกอบของ "กัญชง-กัญชา" ซึ่งก่อนหน้านี้ โลกโซเชียล ก็มีการแชร์เมนูอาหาร "มาชิมกัญ" ของหน่วยงานหนึ่ง จากโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ที่ได้นำส่วนที่ปลดล็อก มาทำเป็นเมนูอาหาร เช่น เมนูรื่นเริงบันเทิงยำ ข้าวกะเพราสุขใจ เล้งแซ่บซดเพลิน ขนมปังคิกคิก และอีกหลายเมนู เรียกกระแสความอยากลิ้มลองได้ไม่น้อย

ไม่เพียงแต่ เมนูอาหาร "มาชิมกัญ" เท่านั้น ที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง ต่อมาร้านขนมครกใบเตยชื่อดัง ถิ่นเด็กแนว ประกาศเตรียมเปิดตัวสินค้าใหม่ เป็น "ขนมครกใบเตยผสมกัญชา" ซึ่งกัญชาที่นำมาผสมในขนมนั้น มีการการันตีว่าเลือกสายพันธุ์มาอย่างดี ควบคุมการปลูก ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวไปจนถึงกระบวนการขนส่ง จนถึงร้าน 

ทำเอาหลายคนสงสัย ตั้งคำถามว่า เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็สามารถทำอาหารจากกัญชง-กัญชา มาวางขายได้อย่างถูกกฎหมายใช่หรือไม่ แล้วคนทั่วไป สามารถปลูกกัญชง กัญชา ประหนึ่งแทรกอยู่ในแปลงผักสวนครัว แล้วนำส่วนประกอบที่ได้รับการปลดล็อกมาทำอาหารรับประทานได้หรือเปล่า 

ใครก็ใช้ประโยชน์จาก กัญชา กัญชง ได้

เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ชี้แจงว่า ขณะนี้ยังมีข้อสงสัยในการปลดล็อกส่วนของกัญชา กัญชง ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด เอื้อเฉพาะบางหน่วยงาน เช่น โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า กรณีโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถประกอบอาหารจากใบกัญชาได้ เพราะเป็นผู้ได้รับอนุญาตปลูกกัญชา และขอแก้ไขโครงการเพื่อนำใบกัญชาไปใช้ประโยชน์แล้ว

ซึ่งหากผู้ได้รับอนุญาตปลูกกัญชารายอื่น ต้องการนำใบ หรือส่วนต่างๆ ที่ไม่เป็นยาเสพติดไปใช้ประโยชน์ หรือจำหน่าย ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยยื่นขอแก้ไขแผนการนำไปใช้ประโยชน์ที่ อย. โดยยืนยันว่า ประชาชนทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากส่วนของกัญชา กัญชง ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดได้ แต่ต้องมาจากผู้ได้รับอนุญาตปลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

แต่หากนำส่วนของกัญชา กัญชง ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่าย จะต้องขออนุญาตภายใต้กฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้นด้วย ส่วนการขยายการใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำกฎหมายให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่สนใจใช้ประโยชน์จากส่วนของกัญชาที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ทางสถาบันกัญชาทางการแพทย์ ได้เปิดช่องทางการจับคู่ระหว่างผู้ที่สนใจ กับผู้ได้รับอนุญาตการปลูกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ปลูก และผู้ที่ต้องการใช้ส่วนกัญชาที่ไม่ใช่ยาเสพติด (ลงทะเบียนได้ ที่นี่


การขออนุญาตปลูกกัญชง-กัญชา

เภสัชกรหญิงสุภัทรา เผยว่า ตามกฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ.2563 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีประชาชน เกษตรกร และทุกภาคส่วนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ 29 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2564 มีผู้ขอรับคำปรึกษาทั่วประเทศกว่า 2,000 คน

แต่ก็ยังมีประเด็นที่ อย. ต้องชี้แจงให้ประชาชนคลายความสงสัย เกี่ยวกับการปลูกกัญชง ดังนี้

1. การยื่นคำขออนุญาตปลูกกัญชง สามารถยื่น ณ สถานที่ปลูกตั้งอยู่ หากอยู่ที่กรุงเทพฯ ให้ยื่นที่ อย. หากอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ส่วนการนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชงเพื่อปลูก หรือศึกษาวิจัยให้ยื่นคำขอที่ อย.

2. เอกสารแสดงสิทธิ์การครอบครองหรือใช้ประโยชน์ที่ดินที่ใช้ประกอบการยื่นคำขอ เช่น โฉนด, น.ส.3, สัญญาเช่า หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ ในกรณีใช้ที่ดินของหน่วยงานรัฐ เช่น ที่ราชพัสดุ หรือที่ดิน ส.ป.ก. ให้ใช้หนังสือแสดงการได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของที่ดินนั้น

3. ระยะเวลาพิจารณาอนุญาตตามคู่มือประชาชน สำหรับกรณีปลูก สูงสุดไม่เกิน 135 วัน และสำหรับกรณีนำเข้า สูงสุดไม่เกิน 75 วัน ทั้งนี้ อย. จะเร่งการอนุญาตให้เร็วที่สุด

สำหรับผู้ที่ต้องการปลูกกัญชง แต่ยังหาคู่ธุรกิจไม่ได้ อย. จะประสานจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ปลูกและผู้รับซื้อ เช่น โรงสกัด โรงงานแปรรูป ผู้รับซื้อสารสกัดไปผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพให้

นอกจากนี้ อย. อยู่ระหว่างประสานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อจัดตั้งตลาดกลางกัญชา กัญชง ให้เป็นศูนย์กลางรับซื้อรองรับและกระจายผลผลิตกัญชา กัญชงจากเกษตรกรรายย่อย ส่งไปยังภาคอุตสาหกรรม ทั่วประเทศต่อไป

นอกจากนี้ ยังฝากเตือนประชาชนด้วยว่า ขณะนี้เริ่มมีกลุ่มบุคคลชักชวนให้เกษตรกรสมัครเป็นสมาชิก โดยเสียค่าลงทะเบียนคนละ 1,000 บาท และซื้อหุ้นอีก 1,000 บาท จึงจะได้เมล็ดพันธุ์ไปปลูกและรับซื้อผลผลิต ขอให้เกษตรกรอย่าเพิ่งหลงเชื่อ ขณะนี้หน่วยงานที่มีใบอนุญาตจำหน่ายเมล็ดพันธุ์กัญชง เช่น สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ซึ่งหากประชาชน ต้องการตรวจสอบรายชื่อผู้ได้รับอนุญาตนำเข้า ก็สามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่กองควบคุมวัตถุเสพติด

ขณะที่การขออนุญาตปลูกกัญชา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ระบุไว้ว่า ผู้ที่สามารถขออนุญาตปลูกกัญชาได้นั้น จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 

  • หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย หรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชกรรม วิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด สภากาชาดไทย
  • ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม สัตวแพทย์หรือแพทย์แผนไทย หมอพื้นบ้าน ตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกําหนด
  • สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ หรือเภสัชศาสตร์
  • เกษตรกรที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์การเกษตรซึ่งจดทะเบียน ตามกฎหมาย และร่วมดำเนินการกับหน่วยงานรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษา

ซึ่งหากเป็น บุคคลธรรมดา ต้องมีสัญชาติไทยและมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย หากเป็นนิติบุคคล ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 2 ใน 3 ต้องมีสัญชาติไทยและมีสํานักงานในประเทศไทย

มาถึงตรงนี้ อยากจะสรุปย้ำอีกครั้งว่า ไม่ใช่ว่าใครคิดจะปลูกกัญชา กัญชง ไว้ประกอบอาหารกินในบ้าน ประหนึ่งผักสวนครัว หรือตัดไปวางขายตามตลาดสด แบบนี้ ผิดกฎหมาย อย่าหาทำ!!

ผู้เขียน : เจ๊ดา วิภาวดี
กราฟฟิก : Phantira Thongcherd

Let's block ads! (Why?)

อ่านบทความและอื่น ๆ ( อย่าหาทำ "กัญชง-กัญชา" ให้ปลดล็อกทำอาหาร แต่ใช่ว่า ใครๆ ก็ปลูกได้ - ไทยรัฐ )
https://ift.tt/3rLlVwj
อาหารสุขภาพ

Bagikan Berita Ini

0 Response to "อย่าหาทำ "กัญชง-กัญชา" ให้ปลดล็อกทำอาหาร แต่ใช่ว่า ใครๆ ก็ปลูกได้ - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.