การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารที่มีแคลอรีสูงจากน้ำตาล เนื้อสัตว์ต่างๆ และผลิตภัณฑ์จากนมไขมันเต็ม (full fat dairy product) มักก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ได้แก่ โรคอ้วนและโรคที่เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการเผาผลาญอาหาร (metabolic diseases) ยิ่งไปกว่านั้นยังทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายเกิดความไม่สมดุลและอ่อนแอ นิสัยการรับประทานอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการจะเป็นตัวทำลายระบบภูมิคุ้มกันของเรา เหมือนเวลาที่ข้าศึกโจมตีและทำลายป้อมปราการจนแตกพ่าย และอาจทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยได้ใหม่ และ/หรือกลับมาป่วยโรคเดิมซ้ำได้อีก
ดร.เคนต์ แบรดลีย์ ประธานที่ปรึกษาด้านสุขภาพและโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น กล่าวว่า ให้ลองนึกภาพร่างกายของเราเป็นป้อมปราการที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี ทุกๆ วันร่างกายจะต่อสู้ป้องกันตัวเองจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วยระบบป้องกันที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ร่างกายจึงสามารถป้องกันและซ่อมแซมตัวเองไปพร้อมๆ กันได้เมื่อมีภัยคุกคาม ทั้งนี้เซลล์ในร่างกายก็เปรียบเหมือนกองทหารป้องกัน แต่ละเซลล์จะได้รับมอบหมายหน้าที่ที่แตกต่างกันเพื่อช่วยร่างกายป้องกันโรคต่างๆ ถ้าป้องกันไม่สำเร็จ ทหารเซลล์เหล่านี้จะรักษาซ่อมแซมร่างกายเมื่อจำเป็น โภชนาการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเซลล์ในร่างกายล้วนต้องการสารอาหารประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้
กลุ่มสารอาหารหลัก ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันกลุ่มสารอาหารรอง ได้แก่ วิตามินและเกลือแร่สายพฤกษเคมี หรือไฟโตนิวเทรียนต์ ที่พบเฉพาะในพืช ในประเภทสารอาหารเหล่านี้ เราเข้าใจบทบาทความสำคัญของโปรตีน รวมถึงไขมันที่ดีและจำเป็นต่อสุขภาพอย่างกรดไขมันโอเมกา 3 และเส้นใยอาหารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของจุลินทรีย์ไมโครไบโอมในระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังรวมถึงวิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารจากพืชที่ช่วยให้ร่างกายเรามีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง
"แม้เราจะไม่ค่อยพบปัญหาการขาดแคลนอาหารในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ทว่าผู้คนหลายคนในแถบประเทศกำลังพัฒนากลับไม่ได้รับวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายมานาน ย้อนกลับไปเมื่อปี 1976 จักษุแพทย์ท่านหนึ่งในอินโดนีเซียได้พยายามรักษาเด็กๆ ที่กำลังจะตาบอดเพราะร่างกายขาดวิตามินเอ เขาสังเกตเห็นว่าเมื่อคนเหล่านี้ได้รับวิตามินเออย่างเพียงพอ พวกเขาก็จะไม่เสียชีวิตด้วยโรคที่พบได้ทั่วไปในอินโดนีเซีย เช่น โรคหัดหรือท้องร่วง" ดร.เคนต์ระบุ
ข้อสังเกตนี้นำไปสู่งานค้นคว้าวิจัยต่างๆ มากมาย รวมถึงองค์การอนามัยโลกที่ออกมาแนะนำเรื่องการให้วิตามินเอเสริมแก่เด็กและกลุ่มคนที่มาจากถิ่นที่มีการขาดวิตามินเอ ธนาคารโลกเองก็ได้ออกมาประกาศว่า การให้วิตามินเอเสริมเป็นหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาสุขภาพที่คุ้มทุนที่สุด สิ่งเหล่านี้สอนเราว่า ไม่ว่าจะเป็นวิตามินเอ ดี หรือซี รวมทั้งเกลือแร่อย่างแมกนีเซียมหรือสังกะสี หรือสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชหรือโปรตีนก็ตาม เซลล์ของเราต้องการปริมาณสารอาหารต่างๆ อย่างสมดุลเพื่อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
September 22, 2020 at 12:02AM
https://ift.tt/32PJ4UL
โภชนาการดีช่วยสร้างภูมิต้านทาน - ไทยโพสต์
https://ift.tt/3f6hMg0
Bagikan Berita Ini
0 Response to "โภชนาการดีช่วยสร้างภูมิต้านทาน - ไทยโพสต์"
Post a Comment